Wednesday, January 14, 2009

ทฤษฎีว่าด้วยการบริหารทั้งแนวตะวันตกและแนวตะวันออก

ทฤษฎีว่าด้วยการบริหารทั้งแนวตะวันตกและแนวตะวันออก

การบริหารศาสตร์บริหาร "ตะวันตก" หรือ "ตะวันออก" ดีกว่ากัน
โดย ธีรพล แซ่ตั้ง
ทฤษฎีการบริหารธุรกิจ และบริหารองค์กร โดยเฉพาะในเรื่องการบริหารคน ไปจนถึงบริหารคู่ค้า-พันธมิตร มีให้เลือกเรียนรู้มากเสียจนไม่รู้จะนำทฤษฎีใดมาใช้ และยังไม่มีใครสามารถพูดได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ว่าทฤษฎีแบบใดดีที่สุด เหมาะสมที่สุด เพราะทุกทฤษฎีต่างก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย

โดยรวมๆ การบริหารแบบตะวันตกจะเน้นในเรื่อง ผลลัพธ์ที่จับต้องได้ในเชิงตัวเลขที่ชัดเจน และเน้นเป็นพิเศษที่จะต้องเติบโตแบบก้าวกระโดด…โตแบบห้ามหยุดเติบโต เพื่อสร้างผลตอบแทนมหาศาลให้กับเจ้าของธุรกิจและผู้ถือหุ้น!

แม้ในระยะหลังธุรกิจระดับโลกหันมาให้ความสำคัญกับเรื่องสังคม (CSR) และคนในองค์กรมากขึ้น แต่ยังต้องอยู่บนพื้นฐานของ….การเติบโต ผลกำไรที่ห้ามลดลง!

ในขณะที่การบริหารแบบตะวันออก (ที่ยังไม่ถูกกระแสศาสตร์แห่งตะวันตกครอบงำ) จะให้ความสำคัญมากๆ กับเรื่อง "คุณค่าของความรู้สึก" ตั้งแต่คนในองค์กร คู่ค้า ลูกค้า ไปจนถึงสังคม ควบคู่ไปกับการเจริญเติบโตของธุรกิจ…แบบยั่งยืน! ไม่จำเป็นต้องก้าวกระโดด… แต่ทุกย่างก้าวจะหนักแน่นและมั่นคง

ศาสตร์แบบตะวันตก เมื่อพนักงาน หมดสิ้นคุณค่าในเชิงตัวเลข ก็ถึงเวลาที่จะต้อง "สิ้นสภาพ" ในการเป็นพนักงาน…..เมื่อคู่ค้า-พันธมิตร หมดสิ้นซึ่งประโยชน์ (เช่นในอุตสาหกรรมรถยนต์ของไทย ที่ถึงแม้จะช่วยสร้างBrand ช่วยบุกเบิกยอดขาย สั่งสมความสัมพันธ์มาหลายสิบปี…เมื่อถึงเวลาก็ต้องหลั่งน้ำตาถอยฉากให้บริษัทแม่ในต่างประเทศเข้ามาทำตลาดเองทั้งหมด ในขณะที่การบริหารแบบตะวันออก เช่น ค่ายรถญี่ปุ่นอย่าง TOYOTA กลับยังคงสร้างและรักษาดีลเลอร์ทั่วประเทศ พร้อมทั้งเติบโตแบบคู่ขนานกันไปแบบไม่เคยห่างความสัมพันธ์..)

ข้อดีของการบริหารแบบตะวันตก ก็มีเช่นกัน…ที่ทุกคนจะต้อง "ตื่นตัวตลอดเวลา" ที่จะต้องสร้างผลงานที่เป็นตัวเลข และพร้อมที่จะรับการเปลี่ยนแปลงได้แบบทุกนาที!

มีมุมเล็กๆ ที่น่าสนใจให้ไป "คิดต่อ" ก็คือ…ทุกสิ่งทุกอย่างที่พนักงานขององค์กรแบบตะวันตกสุดขั้ว ทำอย่างทุ่มเท....ไม่ใช่ทำเพื่อองค์กร แต่ทำเพื่อผลประโยชน์ตัวเอง ไม่ใช่ทำเพราะความสนุก ทำเพราะต้องทำ ทุกคนต่างก็รู้ว่า มีเวลาเหลืออีกไม่มากนักในตำแหน่งที่ตนเองทำ พร้อมที่จะถูกแทนที่ได้ตลอดเวลา เพราะถูกประเมินผลงานแทบจะเป็นรายวินาที!

ในมุมเดียวกัน ของการบริหารแบบตะวันออกที่ให้ความสำคัญกับ "ความรู้สึกและคุณค่าของคน" ทุกสิ่งทุกอย่างที่พนักงานทำอย่างทุ่มเท ส่วนมาก…ทำเพื่อทีม ทำเพื่อหน่วยงาน ทำเพื่อองค์กร มากกว่าทำเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง!

ในการบริหารแบบตะวันตก ที่เน้นผลงานและผลลัพธ์ที่ชัดเจน….คนเก่า คนแก่ที่ช่วยบุกเบิกธุรกิจจนประสบความสำเร็จร่วมกันมา จะไม่มีที่ยืนเพราะหมดสิ้นคุณค่า และไม่คุ้มค่าที่จะเลี้ยงหรือรักษาไว้…

ในการบริหารแบบตะวันออก คนกลุ่มเดียวกันนี้ ยังคงมีที่ยืนพร้อมทั้งเกียรติและศักดิ์ศรีในฐานะที่ปรึกษาภายใน โดยไม่แม้แต่จะลดผลตอบแทน

ทุกวันนี้ ท่านบริหารแบบใดไม่มีใครมาตอบแทนตัวท่านได้ว่าสิ่งที่ท่านทำ..ดีหรือไม่ดี และไม่มีคำตอบให้กับทุกท่านว่า ท่านควรใช้รูปแบบใด หรือ จะผสมผสานศาสตร์การบริหารทั้ง 2 แบบอย่างไรให้เหมาะสมกับธุรกิจและองค์กรของท่าน…
มีแต่คำแนะนำทิ้งท้าย สั้นๆ และง่ายๆ ก็คือ… "รูปแบบใดก็ได้ ที่ท่านจะเลือกหรือผสมผสาน ควรเป็นรูปแบบที่ท่านทำธุรกิจแล้ว ทั้งลูกค้า ทั้งคู่ค้า ทั้งพนักงาน รวมถึงตัวท่านเอง…ทำแล้วมีความสุขจากความรู้สึกจริงๆ!"
ที่มา : http://warehouse-operation-management.blogspot.com/2008/01/blog-post_31.html

การบริหารแบบตะวันออก
(การบริหารแบบ ญี่ปุ่น)
โดย สมยงค์ เฉลิมจิระรัตน์ และคณะ

การบริหารงานรูปแบบญี่ปุ่น
การบริหารงานในบริษัทต่างชาติ จะมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของชนชาตินั้น ๆ ในที่นี้ จะกล่าวถึงวัฒนธรรมกับการบริหารเปรียบเทียบ การบริหารจัดการของสหรัฐอเมริกา กับญี่ปุ่น ดังจะได้กล่าวดังต่อไปนี้ การบริหารงานสไตล์ญี่ปุ่น เคอิทาโร ฮาเซงาวา ได้พูดถึงการบริหารจัดการสไตล์ญี่ปุ่นว่า ในทัศนะของคนญี่ปุ่น คนต้องมาก่อน มาก่อนผลกำไรในการผลิต ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และแม้กระทั่งในยามธุรกิจตกต่ำคนยังต้องมาก่อนกำไร โดยในการปฏิบัติแล้วธุรกิจของญี่ปุ่นก็คือชุมชนของคนที่ได้รับการจูงใจแล้วนั่นเอง ซึ่งทัศนะของคนญี่ปุ่นในการบริหารบุคลากร คนงานญี่ปุ่นจะได้รับการปฏิบัติจนมีความรู้สึกว่าเป็นความรับผิดชอบของทุก ๆ คน ในอันที่จะต้องให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ต่อฝ่ายบริหาร ในทัศนะของลูกจ้างการสมัครเข้าทำงานถือเสมือนว่าเข้าไปมีความสัมพันธ์กับองค์การแบบตลอดชีพ ซึ่งการ ลองดูตัวอย่างจริงสักกรณีหนึ่ง ในปี 2540 ซึ่งเป็นช่วงที่ประเทศไทยต้องประสบกับปัญหาทางเศรษฐกิจ บริษัทวาย เค เค ซึ่งเป็นบริษัทของญี่ปุ่น ได้รับผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ แต่ทางบริษัทจะไม่มีการพิจารณาในการลดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับคน เช่น เงินเดือน โบนัส การขึ้นค่าจ้าง สวัสดิการต่าง ๆ ยังคงมีอยู่ครบถ้วน พนักงานทุกคนได้รับผลตอบแทนเต็มที่จากบริษัท ซึ่งเหตุการณ์ในครั้งนั้น ทำให้พนักงานทั้งหมดแสดงความจงรักภักดีกับบริษัท โดยพนักงานทุกคนยินดีที่จะให้บริษัทลดค่าใช้จ่ายในการจัดกิจกรรมสันทนาการโดยการพาพนักงานไปเที่ยวประจำปี ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การจ้างงานแบบตลอดชีพทำให้พนักงานเกิดความรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของบริษัท และโดยเฉลี่ยแล้วอายุงานของพนักงานส่วนใหญ่มากกว่า 10 ปีขึ้นไปเมื่อเทียบกับอายุงานของบริษัทซึ่งประมาณ 20 ปี
ความเสมอภาคด้านค่าจ้าง ความแตกต่างระหว่างค่าจ้างของฝ่ายจัดการกับฝ่ายแรงงานในรูปตัวเงินโดยตรงในประเทศญี่ปุ่นนั้นนับว่าน้อยที่สุดในโลก ซึ่งกล่าวได้ว่าธุรกิจของญี่ปุ่นอาศัยความเสมอภาคด้านรายได้นี้เป็นปัจจัยในการจูงใจให้พนักงานมีการแข่งขันกันและร่วมมือกันเป็นอันดีในเวลาเดียวกัน เกือบจะไม่แตกต่างกันระหว่างค่าจ้างของพนักงานในฝ่ายสำนักงานที่จบการศึกษาในระดับเดียวกัน ผู้ที่จบจากมหาวิทยาลัยมาจะเริ่มที่ค่าจ้างเท่ากับคนที่จบมัธยมปลายและทำงานมาแล้ว 4 ปี ดังตัวอย่างเช่น บริษัท วาย เค เค พนักงานที่จบระดับปริญญาตรี เริ่มต้นค่าจ้างที่ 9,300 บาท เมื่อเทียบกับพนักงานที่จบมาระดับ ปวช. ซึ่งทำงานในฝ่ายเดียวกันและทำงานมาแล้วประมาณ 4 ปี จะมีค่าจ้างเฉลี่ยประมาณ 9,000 – 10,000 บาท ถึงแม้กระทั้งพนักงาน white-collar (ในที่นี้พนักงาน white-collar คือ พนักงานที่ทำงานในส่วนสำนักงาน ส่วนพนักงาน blue-collar คือพนักงานที่ทำอยู่ในฝ่ายโรงงานซึ่งหมายถึงในด้านการผลิต) ก็จะมีความเสมอภาคกันหมดทั้งอัตราค่าจ้าง สวัสดิการต่าง ๆ เป็นต้น
ความเสมอภาคกันนี้ได้แผ่อิทธิพลไปสู่ทุกธุรกิจของญี่ปุ่น และเป็นปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จในการบริหารงานของญี่ปุ่นและเศรษฐกิจของญี่ปุ่นไม่ว่าคนญี่ปุ่นจะไปลงทุนที่ประเทศใด ๆ ในโลกก็ตามก็มักจะประสบความสำเร็จในการบริหารงาน
ระบบอาวุโส ลักษณะที่สำคัญอีกประการหนึ่งของการบริหารแบบญี่ปุ่น คือระบบอาวุโส โดยทั่วไป ค่าจ้างคนงานของญี่ปุ่นจะสูงขึ้นตามอายุงานในบริษัทหนึ่ง ระบบอาวุโสของญี่ปุ่นเป็นสิ่งจูงใจพนักงานให้ทำงานอยู่กับบริษัทหนึ่งนานเพราะมั่นใจกับการปรับเงินเดือนและความก้าวหน้าขึ้นเรื่อย ๆ เช่น พนักงานในระดับบริหารของบริษัท วาย เค เค ในระดับผู้จัดการแผนก จะเป็นพนักงานอาวุโส และเป็นพนักงานรุ่นแรกที่เข้าทำงานตั้งแต่บริษัทเริ่มดำเนินกิจการ เป็นพนักงานที่ไต่เต้าขึ้นมาจากพนักงานธรรมดาโดยได้รับการเลื่อนตำแหน่งมาเรื่อย ๆ จะเห็นได้ว่าบริษัทญี่ปุ่นเน้นระบบอาวุโส ในการบริหารงาน
การจ้างงานตลอดชีพ เมื่อบริษัทญี่ปุ่นทำการรับสมัครงาน กระบวนการคัดเลือกคนทำเหมือนกับว่า เขาต้องการคัดเลือกพนักงานเฉพาะที่ทำงานอยู่กับบริษัทตลอดชีพ ในส่วนของผู้สมัครนั้นหลังจากตกลงใจตอบรับเข้าทำงานกับบริษัทแล้ว นั่นหมายความว่า เขาได้ตกลงใจสร้างความผูกพันชนิดคลอดชีพ ดูเหมือนระบบการจ้างงานตลอดชีพจะถูกหยิบยกให้เป็นหนึ่งในลักษณะเฉพาะของการบริหารงานแบบญี่ปุ่น
การตัดสินใจจากล่างขึ้นบน ประเพณีในญี่ปุ่นทำให้บริษัททำการตัดสินใจจากล่างขึ้นบน จุดประสงค์เพื่อสร้างขวัญกำลังใจของลูกจ้างโดยวิธีตัดสินใจที่ให้ทุกคนมีส่วนร่วม ดังนั้น ในบริษัทญี่ปุ่นจึงใช้ระบบที่เรียกว่า ริงหงิ (ringi) เป็นวิธีกำหนดนโยบาย คือการร้องขอการตัดสินใจเป็นลายลักษณ์อักษรที่แนะนำให้มีการกระทำเฉพาะอย่างหนึ่ง คือการเสนอสู่ผู้บังคับบัญชาเบื้องบนโดยผู้จัดการระดับต่ำกว่า เอกสารเสนอจากลูกจ้างในระดับต่ำผ่านฝ่ายบริหารสู่หัวหน้าส่วน สู่ผู้จัดการแผนก และเรื่อยไปจนถึงผู้บริหารระดับสูง จากนั้นย้อนผ่านกลับลงไปว่าข้อเสนอได้รับการยอมรับหรือไม่อย่างไร ระบบนี้ทำให้ลูกจ้างทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายของบริษัท
กล่าวโดยสรุปการบริหารแบบญี่ปุ่น หัวใจสำคัญของการบริหารคือ
1. การเน้นคุณภาพ (think quality) อย่าหยุดความพอใจอยู่เท่านั้น ปรับปรุงผลิต
ภัณฑ์อยู่ตลอดเวลา กระตุ้นทุกคนนับตั้งแต่ประธานบริษัทลงไปจนถึงลูกจ้างคนใหม่ให้ช่วยกันมองหาแนวทางใหม่ ในการทำงานให้ดีขึ้น ลดอัตราของเสีย ให้เขาภูมิใจกับสิ่งที่พวกเขาได้ช่วยสร้างสรร ชี้แนะให้เขาเห็นว่าสิ่งที่พวกเขาทำนั้นเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม
2. รักการแข่งขัน (be competitive) ทำให้ดีเท่าหรือดีกว่าขู่แข่งขันเสมอ ราคาขายที่
ตั้งก็ต้องเป็นไปตามคู่แข่งส่วนใหญ่ บริการลูกค้าเต็มเม็ดเต็มหน่วย อย่ามัวแต่ปกป้องตนเอง แต่ทำให้ดีกว่าคู่แข่ง มุ่งเน้นผลิตภัณฑ์ สินค้า การหีบห่อ การโปรโมทสินค้าของตนให้ดีที่สุดในบรรดาคู่แข่งทั้งหมด
และอย่างที่เน้นมากที่สุดในการบริหารแบบญี่ปุ่นคือ การเลี้ยงคนให้ดี แน่นอนที่สุดเป็นเป็นหมายทั้งหลายของเรานั้นต้องได้รับการสนับสนุนด้วยทีมงานที่มีประสิทธิภาพ และมีใจทำงานให้บริษัทอย่างเต็มที่ ฉะนั้นต้องไม่ลืมที่จะปฏิบัติต่อพนักงานทุกคนทุกระดับอย่างยุติธรรม ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง หากทำได้พยายามเน้นการจ้างงานแบบตลอดชีพ หรืออย่างน้อย ไม่ไล่คนออกจนกว่าจะพยายามหาทางออกที่เหมาะกว่าในทุก ๆ ทางที่เป็นไปได้ ให้ทุกคนได้ชื่นใจเมื่อบริษัทรุ่งเรื่องด้วยการจ่ายโบนัสอย่างสม่ำเสมอ พูดง่าย ๆ คือ ปฏิบัติต่อพนักงานทุกคนดังว่าพวกเขาเป็นคนที่มีสำนึก มีความจงรักภักดี มีสมอง และยินดีทำงานหนักอย่างที่คุณอยากได้ และพวกเขาจะเป็นอย่างนั้นจริง ๆ ดังต้องอย่างที่ บริษัท วาย เค เค จะมีการจ่ายโบนัสให้พนักงานทุกคนทุกระดับ ในอัตราที่เท่ากันและจ่ายให้อย่างสม่ำเสมอตั้งแต่เปิดดำเนินกิจการมาจนถึงปัจจุบันนี้ และการเลี้ยงคนให้ดีนั้น ทางบริษัทจัดให้มีสวัสดิการ และมีแรงจูงใจในการทำงานให้กับพนักงานเสมอ พนักงานส่วนใหญ่จะทำงานที่บริษัทตั้งแต่จบการศึกษาใหม่ ๆ และส่วนใหญ่ก็ทำงานมาจนถึงทุกวันนี้ (สมยงค์ เฉลิมจิระรัตน์ และคณะ, 2535, หน้า 3-33)
ที่มา : www.geocities.com/buucu5231/pattama2.doc

No comments:

Post a Comment